โรคต้นกล้าไหม้ และไรแดง ในมันสำปะหลัง


        สวัสดีครับท่านเกษตรกร ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูฝน แต่บางพื้นที่ฝนทิ้งช่วง ทำให้พืชที่ปลูกไปแล้ว มีการเจริญเติบโตไม่ค่อยสมบูรณ์ ในแถบจังหวัด กำแพงเพชร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา  จึงมีโรคและแมลง ระบาด กับมันสำปะหลัง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตลดลง  
        วันนี้เรามารู้จัก โรคต้นกล้าไหม้ กับไรแดงในมันสำปะหลัง การระบาดเกิดจากพืชอ่อนแอ ขาดธาตุอาหาร และความชื้น จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล ป้องกัน และ กำจัด กันครับ

 โรคต้นกล้าไหม้



 ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora parasitica โรคดังกล่าวจะทำลายต้นกล้ามันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือนที่อ่อนแอ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน และมักทำลายต้นกล้าที่ถูกเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูและไรแดง ทำลายด้วย ทำให้ต้นกล้าไหม้และเน่า สร้างความสูญเสียให้กับเกษตรกร
แม้ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคต้นกล้าไหม้ในมันสำปะหลังยังไม่รุนแรงมากนัก  แต่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ต้องติดตามเฝ้าระวังโรคต้นกล้าไหม้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ก่อนที่จะแพร่ระบาดลุกลามเป็นวงกว้าง 
ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อรา P. parasitica ในมันสำปะหลัง ใบจะไหม้ จากนั้นก้านใบก็แห้งและเชื้อราจะเข้าทำลายลำต้นทำให้ต้นเน่าและตายในที่สุด ซึ่งต้นกล้ามันสำปะหลังจะตายเป็นหย่อมๆ และค่อยลุกลามกว้างขึ้นหากควบคุมไม่ทัน








แนวทางป้องกันและควบคุมโรคต้นกล้าไหม้มันสำปะหลัง  เบื้องต้นของการป้องกันโรคนี้คือเกษตรกรควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์ดี สมบูรณ์ แข็งแรงและปลอดเพลี้ยแป้ง ควรเป็นท่อนพันธุ์สะอาดที่มาจากแปลงผลิตท่อนพันธุ์โดยตรง ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงที่ผลิตหัวมันสดป้อนโรงงาน หรือควรคัดท่อนพันธุ์ในแปลงปลูกที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดจากโรคแมลง และควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นแนวทางป้องกันและลดปัญหาโรคต้นกล้าไหม้ได้  
  •  การเตรียมน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ 
    • ใช้ถังที่มีขนาดบรรจุ 200 ลิตร ใส่น้ำลงไป 100 ลิตร 
    • Evergreen capsule 2 แคปซูล
    • Evergreen Grow-up 1 อัตรา 100 ซีซี
    • Evergreen Grow-up 2 อัตรา 25 ซีซี 


    • ผสม แมนโคเซ็บ( mancozeb )  เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithocarbamate ที่ออกฤทธิ์ในทางป้องกัน โรคพืชมีความคงตัวมาก อัตราการใช้ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ผสมกับสารเคมีกำจัดศัตูพืชอื่นๆได้ เป็นพิษต่อปลา
      •  โรคพืชที่กำจัดได้ โรคแอนแทรคโนส โรคที่เกิดจากเชื้อ Phytophtora โรคสแคป โรคราน้ำค้าง โรคเน่าดำ โรคเน่าสีน้ำตาล โรคที่เกิดจากเชื้อ Cercospora และ Septoria โรคใบจุด ที่เกิดจาเชื้อ Alternaria, Rizoctonia และ Pythium
      • แช่ท่อนพันธุ์อย่างน้อย 1 ชั่วโมง  แล้วยกออกมาผึ่งลมให้แห้ง

นอกจากนี้ก่อนปลูกควรไถและตากดินไว้ประมาณ 10-14 วัน เก็บเศษต้นมันสำปะหลังที่มีอยู่ในแปลงออกให้หมด พร้อมปรับปรุงบำรุงดินให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี โดยเพิ่มจำนวนประชากรจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อแข่งขันและช่วยลดจำนวนเชื้อรา P. parasitica  ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และฉีดพ่น Evergreen Soil  ซึ่งเป็นสารฮิวมิก แอซิค เข้มข้นบวกกับสารละลายดินดานเข้มข้นเพื่อแก้ปัญหาการอัดแน่นของดินด้วย ลงดินอัตรา 20 - 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร  และยังช่วยย่อยสลายเศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์ ให้เร็วขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น



  • หลังปลูกเกษตรกรควรเฝ้าระวังและหมั่นตรวจแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ   หากพบต้นมันสำปะหลังมี อาการใบไหม้และต้นเน่าต้องรีบกำจัดออกจากแปลงโดยเร็ว 
  • ถ้าพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีกลุ่ม เมตาแล๊กซิล metalaxyl เพื่อควบคุมและกำจัดโรค โดยฉีดพ่นทางใบในอัตราที่เหมาะสมตามคำแนะนำบนฉลาก 


หากมีข้อสงสัยต่างๆ สามารถติดต่อ 081-790-1924 (อาจารย์น้อย) ยินดีให้คำปรึกษาครับ


ไรแดง      



  • ลักษณะการทำลาย ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
  • ถ้าพบการระบาด ใช้สารอามีทราช อัตราการใช้ 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโคโฟล 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย เมื่อใบส่วนยอดของต้นมันสำปะหลัง เริ่มแสดงอาการม้วนงอ และอยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้งเป็นเวลานาน






 หากมีข้อสงสัยต่างๆ สามารถติดต่อ 081-790-1924 (อาจารย์น้อย) ยินดีให้คำปรึกษาครับ

ความคิดเห็น

  1. อาจารย์ครับยังมีโรคพืชในมันสำประหรังชนิดอื่นที่มีผลต่อเศรษฐกิจอีกไหมครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Evergreen สัญจร 1 ไร่มันสำปะหลังพันธุ์ไจแอ้นท์ อายุ 5 เดือน ที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

การปลูกมัลเบอรี่ง่ายๆ แบบ Evergreen Khaoyai