บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2014

ปลูกมันสำปะหลัง 30 ตัน โดย Evergreen method

รูปภาพ
ผลิตภัณฑ์ Evergreen วิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่างและธาตุอาหารในดิน ในแปลงเกษตรกรที่มีอยู่ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อประโยชน์ในการให้ปุ๋ยให้ได้สมดุลตามที่พืชต้องการ เป็นการลดต้นทุนให้เกษตรกร และเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร สภาพความเป็นกรดด่างของดินเกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน เช่น ในดินที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 8.5 พืชจะแสดงอากาขาดแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม หรือในดินที่มี pH ต่ำกว่า 5.0 เมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตลงไป พืชจะใช้ประโยชน์ได้เพียงร้อยละ 10 ฟอสเฟตในดินจะถูกตรึงน้อยที่สุดในระดับ pH 6-7                                                                             ไถพรวนดินด้วยผาน 3 ให้มีความลึกมากที่สุด เพื่อกลบวัชพืช ถ้าเป็นดินที่มีการปลูกพืชชนิดเดียวกันมานานอาจจะต้องมีการปลูกพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดก่อน เช่นพืชตระกูลถั่วต่างๆ โสน หรือปอเทือง หรือมีการไถเพื่อทำลายดินดานก่อน                              หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ให้หว่านอินทรีย์วัตถุ เช่น มูลสัตว์ต่างๆ ปุ๋ยหมัก อย่างน้อย 1 ตันต่อไร่ ถ้าดินมี สภาพที่เป็นกรดต้องปรับด้วยปูนขาว ปูนโดโลไมท์ ห

Evergreen สัญจร 1 ไร่มันสำปะหลังพันธุ์ไจแอ้นท์ อายุ 5 เดือน ที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

รูปภาพ
    สวัสดีครับเกษตรกรทุกท่าน ฤดูหนาวนี้รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ  รวมถึงสุขภาพของพืชด้วย อย่าลืมเรื่องการรดน้ำ เพราะน้ำจะช่วยลดเรื่องความหนาวเย็น ช่วยลดการคายน้ำ ให้กับพืชได้ และต้องระวังเรื่องแมลงที่มากับหน้าแล้ง เช่น  เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟหรือไรแดง มักจะระบาดในฤดูแล้ง   ช่วงนี้ได้เดินทางติดตามผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกร ที่ อ.เลาขวัญ  โดยทั่วไปพื้นที่แถบนี้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง แต่เป็นการปลูกตามธรรมชาติ  ครั้งนี้เราได้ไปที่แปลงปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ไจแอ้นท์ อายุ 5 เดือน ของคุณ ธีระภพ สินแฉล้ม  เลขที่ 1/1 ม. 8 บ้านชุมนุมพระ  ต.หนองฝ้าย อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี  ( เบอร์โทร 089 - 805 - 6758 ) เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน มีไม้ผล เลี้ยงไก่ และพืชไร่  คุณธีระภพ เป็นเกษตรกรที่มุ่งมั่นในอาชีพ และเป็นเกษตรกรแบบก้าวหน้า เจ้าของไร่มันสำปะหลัง อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี คุณธีระภพ  สินแฉล้ม และลูกชาย  กับอาจารย์สิริพงศ์ วราศรัย ( คนกลาง ) เจ้าของสวนกล้วยไม้ และไร่มันสำปะหลัง        ซึ่งได้นำพันธุ์มันสำปะหลัง ( พันธุ์ไจแอ้นท์ ) จากครั้งที่คุณธีระภพ มาดูงานที่ E

บัวนานาชาติ 3 สายพันธุ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ IWGS ด้วยฝีมือ ผศ.ดร. ณ นพชัย ชาญศิลป์

รูปภาพ
        คนไทยไม่ธรรมดาจริงๆ ต่างชาติถึงกับต้องยกนิ้วให้เพื่อการันตีในความเก่ง เพราะสามารถคิดค้นบัวสายพันธุ์ใหม่ๆ จนไปคว้ารางวัลบัว ระดับนานาชาติได้ ล่าสุด บินไปกวาดรางวัลมาได้ถึง 7 รางวัล นับเป็นอีกความภาคภูมิใจหนึ่งของประเทศไทย         บัวถือเป็นไม้น้ำประจำถิ่นของดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลากหลายสายพันธุ์ หลากหลายสีสัน มีทั้งแบบที่บานกลางวัน และบานกลางคืน  หลายชนิดก็สามารถเปลี่ยนสีได้         ประเทศอเมริกาได้จัดตั้งสมาคมบัวและไม้น้ำนานาชาติ  ( International Waterlily & Water Gardening Society หรือ IWGS )  ขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ทางสมาคมได้จัดประกวดบัวลูกผสม ประจำปี  2013 ขึ้นที่สวนพฤษศาสตร์เมืองเคนเวอร์รัฐโคโลราโดประเทศสหรัฐอเมริกา         โดยครั้งนี้ ผศ.ดร. ณ นพชัย ชาญศิลป์  ผู้อำนวยการสถานีวิจัยบัวและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้ร่วมส่งบัวเข้าร่วมประกวด และได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดบัวนานาชาติ IWGS   ซึ่งบัวที่   ผศ.ดร. ณ นพชัย ชาญศิลป์ ส่งเข้าประกวด มี  3 ประเภท สามารถคว้ารางวัลมาได้ทั้งหมด 7 รางวัล พันธุ์บัวมายาราณี

จะทำอย่างไรให้กล้วยไม้ออกดอก

รูปภาพ
              เรามักจะได้ยินผู้นิยมปลูกกล้วยไม้ถามอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรให้กล้วยไม้ออกดอก เพราะตอนที่ซื้อมา ดอกและต้นก็ยังสวยดีอยู่ แต่พอดอกโรยไปแล้ว ไม่เคยเห็นดอกอีกเลย             การที่กล้วยไม้จะให้ดอกตามปกตินั้น มาจากปัจจัย 3 อย่าง ในที่นี้ขอกล่าวถึงกล้วยไม้ทั่วไปและกล้วยที่ให้ดอกตามฤดูกาล ( กล้วยไม้ปี ) คือ สิ่งแวดล้อม การให้น้ำ ปุ๋ย - ยา สิ่งแวดล้อม กล้วยไม้แทบไม่มีทางออกดอกที่ดีได้เลย หากปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่ดีคือ ต้องมีสภาพที่ใกล้เคียงธรรมชาติดั้งเดิมของสายพันธุ์กล้วยไม้นั้นๆ  แสงแดดที่พอเหมาะ  ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มสว่างจนถึง 8 โมงเช้า เพราะแสงเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการสร้างอาหารให้กับพืช ถ้ามีแสงน้อยไปก็จะทำให้กระบวนการในการเจริญเติบโตช้าลง หรือมีการเจริญทางด้านยาวด้านเดียว ที่เรียกว่ากล้วยไม้ยืด ไม่อ้วน ทำให้กล้วยไม้อ่อนแอ หรือมีโรคสะสม แต่ถ้าได้รับแสงมากเกินไปก็ทำให้ใบไหม้ได้หรือแคระแกรนจึงต้องมีการพรางแสงช่วย  การถ่ายเทอากาศดี ก็ช่วยนำความชื้นและนำความร้อนออกไปจากโรงเรือนได้ ไม่อับชื้น หรือสะสมเช